ทำไมต้องพัฒนาระบบStart – Stop System
ในปัจจุบันโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยสาเหตุหนึ่งมาจากการปล่อยค่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่มากเกินไป ซึ่งมาจากอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ผลิตในสายอุตสาหกรรมยานยนต์นั้นจึงพยายามคิดค้นกันมาเป็นระยะเวลานาน เพื่อทำอย่างไร? ที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ให้น้อยลงหรือไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมาเลย
จึงเกิดเป็นการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า , รถยนต์ไฮบริด , รถยนต์ที่มีระบบ ISS System (Start Stop System) พร้อมทั้งรถยนต์ที่ติดตั้งระบบไดชาร์จอัจฉริยะ (AMS System) การพัฒนาดังกล่าวล้วนมีผลกระทบโดยตรงต่อแบตเตอรี่ ทำให้ผู้ผลิตแบตเตอรี่ต้องมีการพัฒนาประสิทธิภาพให้สูงขึ้นเพื่อรองรับการทำงานที่หนักมากยิ่งขึ้น
กราฟเปรียบเทียบระบบการทำงานของระบบ
การทำงานของระบบรถยนต์ทั่วไป
การทำงานของระบบ AMS
การทำงานของระบบ Start Stop
AMS (Alternator Manager System)
“ข้อดี” ของการมีระบบ AMS (Alternator Manager System) คือ ช่วยในการประหยัดน้ำมัน เพิ่มกำลังเครื่องยนต์ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แต่แบตเตอรี่ทำงานหนักมากขึ้น
ระบบ AMS หรือเรียกอีกอย่างว่าไดชาร์จอัจฉริยะ โดยปรกติเครื่องยนต์ของรถยนต์จะมีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่หน่วงเครื่องยนต์ไว้ 2 ตัว ได้แก่ ไดชาร์จ และ คอมเพรสเซอร์แอร์ ทุก ๆ ท่านทราบดีอยู่แล้วว่าหากขับรถยนต์ โดยปิดแอร์ จะทำให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้กว่า 20 -30 % แต่เราคงไม่สามารถจะขับรถโดยไม่เปิดแอร์ได้ ผู้ผลิตรถยนต์จึงพัฒนาระบบ AMS (ไดชาร์จอัจฉริยะ ) ขึ้นมาเพราะไดชาร์จเป็นแม่เหล็กไฟฟ้าที่หน่วงเครื่องยนต์ไว้มากกว่าคอมเพรสเซอร์แอร์ เมื่อไดชาร์จหยุดการทำงาน หรือ ลดการทำงาน ก็จะลดการหน่วงของเครื่องยนต์ มีผลให้เครื่องยนต์มีกำลังมากขึ้นและประหยัดน้ำมันมากยิ่งขึ้น และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ลงด้วย และขณะที่ไดชาร์จหยุดการทำงานหรือลดการทำงาน จะทำให้แบตเตอรี่ ต้องทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้าให้ระบบของรถยนต์แทนไดชาร์จ ทำให้แบตเตอรี่ต้องทำงานหนักยิ่งขึ้น
ISS Start stop system
“ข้อดี” ของการมีระบบ Start Stop System นั้นสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมาได้ เมื่อรถยนต์ของผู้ขับขี่นั้นจอดสนิทอยู่กับที่และอีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงานโดยไม่จำเป็นอีกด้วย แต่แบตเตอรี่ทำงานหนักมากขึ้น
ระบบ Start Stop System เป็นเสมือนตัวเปิด-ปิดระบบ การทำงานของเครื่องยนต์ ซึ่งระบบนี้จะทำงานเมื่อรถของผู้ขับขี่จอดสนิทหรือติดไฟแดง ระบบก็จะทำหน้าที่ในทันที โดยการดับเครื่องยนต์ ทำให้ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมา แต่ระบบไฟฟ้าภายในห้องโดยสารนั้นยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ (ระบบไฟฟ้าในรถยนต์จะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ที่อยู่ภายในรถยนต์ ) และเมื่อผู้ขับขี่ได้ทำการถอนการเหยียบแป้นเบรกขึ้นเครื่องยนต์ก็จะเริ่มการทำงานอีกครั้งด้วยเวลาเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น ผู้คิดค้นจึงนำระบบ Start Stop System มาใช้ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และลดการเกิดมลพิษที่ไม่จำเป็น
เปรียบเทียบคุณสมบัติของAGM / EFB / SMF
ฟังก์ชันการทำงาน | AGM Battery ( AbsorbantGlass Mat Battery ) | EFB Battery (Enhance Flood Battery) | SMF (Seal Lead Maintenance Free ) |
---|---|---|---|
การใช้ไฟฟ้าของรถยนต์ | สตาร์ทเครื่องยนต์ได้มากว่า SMF 5 เท่า | สตาร์ทเครื่องยนต์ได้มากว่า SMF 3 เท่า | ไม่รองรับการจ่ายไฟฟ้าขณะเครื่องยนต์หยุดทำงาน |
จ่ายไฟฟ้าขณะเครื่องยนต์หยุดทำงานได้ยาวนาน (Deep Cycle Application) | จ่ายไฟฟ้าขณะเครื่องยนต์หยุดทำงานได้ (Partial Dischage Cycle Application) | ||
ISS เทคโนโลยี่ (Intell) | เครื่องยนต์หยุด และ สตาร์ทบ่อยครั้ง | เครื่องยนต์หยุด และ สตาร์ทบ่อยครั้ง | ไม่มีระบบพิเศษในรถยนต์ |
ระบบไดชาร์จอัจฉริยะ | ระบบไดชาร์จอัจฉริยะ | ไม่มีระบบพิเศษในรถยนต์ | |
ระบบชาร์จไฟฟ้าขณะเบรก | |||
การใช้งานแบบ Deep Cycle (25% DOD) | 1,200 – 1,500 Cycle | 600 – 1,000 Cycle | 300 – 500 Cycle |
การรักษสิ่งแวดล้อม CO2 Saving | ช่วยลด CO2 ประมาณ 7 – 10% | ช่วยลด CO2 ประมาณ 3 – 5% | ไม่มีระบบพิเศษในรถยนต์ |
การช่วยประหยัดน้ำมันรถยนต์ | ช่วยประหยัดน้ำมันได้ 7 – 10% | ช่วยประหยัดน้ำมันได้ 3 – 5% | ไม่มีระบบพิเศษในรถยนต์ |
PUMA START STOP ดีอย่างไร และระบบรถยนต์รุ่นใหม่ทำงานอย่างไร
บทความแนะนำ
วิธีพ่วงแบตเตอรี่ อย่างปลอดภัย
เมื่อรถยนต์เกิดสตาร์ทไม่ติด ก็ต้องทำการพ่วงแบตเตอรี่กับรถคันอื่น และหลายคนที่พบปัญหาก็คือแล้วสายสีดำ กับสีแดง จะพ่วงกับขั้วแบตตรงไหนดี วันนี้เรามีมาบอกกันครับ
เลือกแบตเตอรี่ PUMA แบบไหน ให้เหมาะกับรถคุณ
PUMA BATTERY แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ PUMA EFB/AGM, PUMA GOLD, PUMA BLACK เลือกให้เหมาะกับรถ
วิธีอ่านรหัสบนแบตเตอรี่
รหัส หรือ รุ่นของแบตเตอรี่รถยนต์ ที่ผลิตในเอเชียที่เป็นไปตามมาตรฐาน JIS หรือมีชื่อเรียกที่คุ้นปากว่า แบตเตอรี่ขั้วลอย