เครื่องสำรองไฟ ตอนเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ MF POWER BACKUP PACK ช่วยป้องกันระบบหน่วยความจำหาย ระหว่างเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ มีระบบป้องกันการช็อต
เครื่องสำรองไฟ MF POWER BACKUP PACK ดีอย่างไร
- เครื่องสำรองไฟระบบ 12V
- มีระบบป้องกันการช๊อต จากการต่อสายสลับขั้ว
- ช่วยป้องกัน ระบบหน่วยความจำหาย ระหว่างเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์
- ให้ความปลอดภัยสูง ระหว่างเปลี่ยนแบตเตอรี่

ขั้นตอนการเปิดใช้งานเครื่องสำรองไฟ MF POWER BACKUP PACK
- นำสายปากคีบขั้วบวก + (สีแดง) หนีบเข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่ในรถยนต์
- นำสายปากคีบขั้วลบ – (สีดำ) หนีบเข้ากับส่วนโลหะของเครื่องยนต์หรือตัวถังรถยนต์ ไฟสถานะการเชื่อมต่อรถยนต์ (ไฟสีเขียว) จะสว่างขึ้นมา แต่หากไฟสีเขียวไม่ติดให้ทำการตรวจสอบฟิวส์ที่สาย
- กดสวิตช์เปิดเครื่องสำรองไฟ ไฟสีแดง (สถานะแบตเตอรี่ในตัวเครื่องสำรองไฟ) จะสว่างขึ้นมา เป็นอันพร้อมใช้งาน
ขั้นตอนการปิดใช้งานเครื่องสำรองไฟ MF POWER BACKUP PACK
- หลังจากติดตั้งแบตเตอรี่ลูกใหม่เรียบร้อยแล้ว ให้กดสวิตช์ปิดเครื่องสำรองไฟ ไฟสีแดง (สถานะแบตเตอรี่ในตัวเครื่องสำรองไฟ) จะดับ
- ปลดสายปากคีบขั้วลบ – (สีดำ) ออก ไฟสถานะการเชื่อมต่อรถยนต์ (สีเขียว) จะดับ
- ปลดสายปากคีบขั้วบวก + (สีแดง) ออกจากแบตเตอรี่
ปุ่มเช็คแรงดันแบตเตอรี่ ใช้ทำอะไร
ปุ่มตรวจเช็คแรงดันแบตเตอรี่ (สีเหลือง) ใช้สำหรับตรวจดูแรงดันแบตเตอรี่ภายในตัวเครื่องสำรองไฟ หากต่ำกว่า 12.5 V ให้ทำการชาร์จแบตเตอรี่ภายในตัวเครื่องสำรองไฟ ด้วยอุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่ ที่แถมไปให้ในชุด
คำเตือน / คำแนะนำ
- ปิดสวิตช์เครื่องสำรองไฟก่อนปลดปากคีบออกจากขั้วแบตเตอรี่
- ห้ามนำปากคีบขั้วบวก + (สีแดง) และขั้วลบ – (สีดำ) แตะกันในขณะที่ไฟสถานะยังสว่างอยู่ทั้ง 2 ดวง
- ใช้ฟิวส์ขนาดพิกัด 20 แอมป์ เท่านั้น
- ควรเสียบชาร์จแบตเตอรี่ภายในตัวเครื่องสำรองไฟทุกวัน เพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
บทความแนะนำ

วิธีพ่วงแบตเตอรี่ อย่างปลอดภัย
เมื่อรถยนต์เกิดสตาร์ทไม่ติด ก็ต้องทำการพ่วงแบตเตอรี่กับรถคันอื่น และหลายคนที่พบปัญหาก็คือแล้วสายสีดำ กับสีแดง จะพ่วงกับขั้วแบตตรงไหนดี วันนี้เรามีมาบอกกันครับ

การทำงานของระบบไฟฟ้า ในรถยนต์ Honda Civic FK
ระบบไฟฟ้า ในรถยนต์ Honda Civic FK ตรงแบตเตอรี่ จะมีเซนเซอร์ (กล่องสีดำ) ติดอยู่ตรงขั้วลบ เซนเซอร์นี้จะเป็นตัวส่งสัญญาณให้กล่อง ECU

เทคโนโลยีแบตเตอรี่รถยนต์ ชนิดตะกั่วกรด
แบตเตอรี่ ตะกั่วกรด นั้นได้มีการเริ่มใช้งาน มาตั้งแต่เมื่อ ค.ศ 1859