หลักการทำงานของรถยนต์

หลักการทำงานของรถยนต์

Puma start stop เป็นแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์รุ่นใหม่

ในอดีต รถยนต์ทุกคันแบตเตอรี่จะมีหน้าที่เพียงจ่ายไฟฟ้า โดยการสตาร์ทรถยนต์เพียงอย่างเดียว แล้วไดชาร์จทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้รถทั้งคันตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานพร้อมชาร์จไฟเข้าสู่แบตเตอรี่ตลอดเวลา

ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมรถยนต์ได้บังคับใช้กฎหมายมาตรฐานสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และลดการใช้เชื้อเพลิง

ในประเทศไทยเราได้บังคับใช้กฎหมายการเสียภาษีสำหรับรถยนต์ โดยเสียตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา ผู้ผลิตรถยนต์ได้มีการติดตั้งระบบไดชาร์จอัจฉริยะ (Alternator Management System : AMS) และระบบ start stop ในรถที่ผลิตในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา

หลักการทำงานของระบบไดชาร์จอัจฉริยะ และระบบ Start Stop ในรถยนต์

จะมีแม่เหล็กไฟฟ้า 2 ตัว คือ คอมเพรสเซอร์แอร์และไดชาร์จ ทำงานอยู่ และจะหน่วงการทำงานของเครื่องยนต์เอาไว้ทำให้รถยนต์สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อเราปิดแอร์รถยนต์จะประหยัดน้ำมันได้ประมาณ 10-15% แต่เราไม่สามารถปิดแอร์ได้เพราะอากาศร้อน ผู้ผลิตรถยนต์จึงออกแบบให้ไดชาร์จผลิตไฟฟ้าลดลง ซึ่งเป็นการลดภาระของเครื่องยนต์

ในขณะที่ไดชาร์จหยุดการทำงาน แบตเตอรี่จะทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแทนไดชาร์จและจะชาร์จไฟกลับทุกครั้งที่เราถอนคันเร่งเครื่อง ระบบนี้จะช่วยให้เราประหยัดน้ำมันและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ การทำงานเช่นนี้เรียกว่าระบบไดชาร์จอัจฉริยะ (Alternator Management System : AMS) และในรถยนต์บางรุ่นจะมีระบบ start stop ซึ่งเครื่องยนต์จะหยุดทำงานทุกครั้งที่รถยนต์จอดหยุดนิ่งโดยแบตเตอรี่เป็นผู้รับภาระจ่ายกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะเครื่องยนต์หยุดทำงานซึ่งทำให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากและช่วยประหยัดน้ำมันเช่นกัน

จากการทำงานเช่นนี้ ทำให้แบตเตอรี่ต้องรับภาระการทำงานหนักมากกว่าเดิมหลายเท่า จึงมีอายุการใช้งานสั้นกว่าเดิมมาก แบตเตอรี่ puma start stop ออกแบบมาให้รองรับการทำงานของระบบไดชาร์จอัจฉริยะและระบบ start stop และมีอายุการใช้งานยืนยาว

ผลที่ลูกค้าจะได้คือรถประหยัดน้ำมันมากขึ้น ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และอายุการใช้งานเพิ่มขึ้น 2 -3 เท่า

บทความแนะนำ


ตรวจเช็คแบตเตอรี่ก่อนออกเดินทาง

ตรวจเเช็คแบตเตอรี่ ด้วยตนเอง ก่อนออกเดินทาง

แบตเตอรี่แต่ละประเภทจะมีวิธีการเช็คแบตเตอรี่ ที่ต่างกัน หากเป็นแบตเตอรี่น้ำ ดูตรงระดับหน้ำกลั่น ตรงขีด Lower หรือ Upper แต่หากเป็นแบตเตอรี่ประเภท SMF หรือ MF จะสามารถดูได้จากตาแมวแบตเตอรี่