หลักการทำงานของรถยนต์
ในอดีตรถยนต์ทุกคันแบตเตอรี่จะมีหน้าที่เพียงจ่ายไฟฟ้า แล้วไดชาร์จทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้รถทั้งคันตลอดเวลา แต่ในปัจจุบันรถยนต์ใช้ระบบไดชาร์จอัจฉริยะ AMS
แบตเตอรี่ ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานหลักในกรณีที่เครื่องยนต์ไม่ได้ทำงาน เป็นแหล่งจ่ายพลังงานสำรองในกรณีที่เครื่องยนต์ทำงานแล้ว การเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าในรถยนต์ขณะเครื่องยนต์ไม่ได้ทำงานเป็นการทำร้ายแบตเตอรี่อย่างหนึ่ง เพราะโดยปกติเมื่อเครื่องยนต์ทำงานแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าในรถยนต์ทั้งหมดจะใช้ไฟจากไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) เท่านั้น แต่ถ้าประสิทธิภาพการทำงานของไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์)ลดลง รถยนต์จะใช้ไฟจากแบตเตอรี่แทนเพราะไดชาร์จไม่สามารถผลิตกระแสไฟได้พอ เพราะฉะนั้นแบตเตอรี่จะมีอายุสั้น หรือยาว จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) ด้วย
จากรูปเป็นวงจรพื้นฐานของระบบไฟฟ้าในรถยนต์ เมื่อเปิดสวิทช์กุญแจรถยนต์ แบตเตอรี่จะถูกดึงกระแสไฟฟ้าประมาณ 8 – 9A ไปเลี้ยงอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสตาร์ทเครื่องยนต์ และเมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) เริ่มมีการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อไปเลี้ยงอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆภายในรถยนต์แทนแบตเตอรี่ และไดชาร์จปกติจะมีแรงดันอยู่ประมาณ 13.9V – 14.5V และต่ำสุดไม่ควรต่ำกว่า 13.5V เพราะถ้าแรงดันไดชาร์จต่ำกว่า 13.5V จะทำให้แบตเตอรี่ถไม่ได้ถูกเติมไฟเข้า หรือมีไฟเติมเข้าแบตเตอรี่น้อยมาก จนทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้นลง
ในอดีตรถยนต์ทุกคันแบตเตอรี่จะมีหน้าที่เพียงจ่ายไฟฟ้า แล้วไดชาร์จทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้รถทั้งคันตลอดเวลา แต่ในปัจจุบันรถยนต์ใช้ระบบไดชาร์จอัจฉริยะ AMS
รถยนต์ในปัจจุบันมีระบบ Start Stop System จึงต้องใช้แบตเตอรี่ AGM หรือ EFB
เมื่อรถยนต์เกิดสตาร์ทไม่ติด ก็ต้องทำการพ่วงแบตเตอรี่กับรถคันอื่น และหลายคนที่พบปัญหาก็คือแล้วสายสีดำ กับสีแดง จะพ่วงกับขั้วแบตตรงไหนดี วันนี้เรามีมาบอกกันครับ