แบตเตอรี่รถยนต์ BYD ATTO 3
แบตเตอรี่สำหรับ รถไฟฟ้า BYD ATTO 3 PUMA 53587 เป็นแบตเตอรี่ที่มีตัวล็อคฐานล่าง
ในยุคหลังปี ค.ศ. 2000 อุตสาหกรรมรถยนต์ ก็เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ก่อมลพิษต่อชั้นบรรยากาศ เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านเครื่องยนต์ เพื่อให้เป็นไปตาม Global Warming Policy โดยมีเป้าหมายในการลดการเกิดมลพิษจากไอเสียรถยนต์ โดยการติดตั้งตัวกรองไอเสียประเภทต่าง ๆ การเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ การลดขนาดเครื่องยนต์ และ อื่น ๆ แต่การพัฒนานี้ มีอยู่ 2 เทคโนโลยี ที่มีผลโดยตรงต่ออายุการใช้งานแบตเตอรี่ คือ
ระบบไดชาร์จอัฉริยะ (Alternator Management System) มีหลักการทำงาน โดยการออกแบบให้ ไดชาร์จ ลด หรือ หยุดการทำงาน ทุกครั้ง ที่เครื่องยนต์ต้องการเร่งเครื่อง เนื่องจากไดชาร์จ และ แอร์ของรถยนต์ เป็นแม่เหล็กที่หน่วงการทำงานของเครื่องยนต์เอาไว้ ทำให้เครื่องยนต์ต้องสินเปลื้องเชื้อเพลิงเพื่อเอาชนะแรงดูดของแม่เหล็ก ดังนั้น ทุกครั้งที่เราต้องการเร่งเครื่อง หากไดชาร์จหยุดการทำงาน จะทำให้ประหยัดน้ำมันได้มากขึ้น และ ลดไอเสียได้มากขึ้น ซึ่งขณะที่ไดชาร์จหยุดการทำงาน แบตเตอรี่จะเป็นผู้รับภาระในการจ่ายกระแสไฟฟ้า ให้รถยนต์แทนไดชาร์จ ทำให้แบตเตอรี่ ทำงานหนักมากยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้แบตเตอรี่ทั่วไป มีอายุการใช้งานที่สั้นลง
ระบบ ISS ( Intelligent Start Stop System) คือระบบที่ออกแบบให้เครื่องยนต์หยุดการทำงาน (ดับเครื่อง) ทุกครั้งที่รถไม่เคลื่อนที่ เช่นจอดติดไฟแดง รอกลับรถ หรือ อื่นๆ ซึ่งขณะที่เครื่องยนต์หยุดการทำงาน แบตเตอรี่จะเป็นผู้รับภาระในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์ทั้งหมด และ ต้องจ่ายกระแสไฟฟ้า เพื่อการสตาร์ทเครื่องยนต์บ่อยมากยิ่งขึ้น กว่ารถยนต์ทั่วไปมากกว่า 3-4 เท่า
จะเห็นได้ว่า ทั้ง 2 ระบบนี้ จะมีผลทำให้แบตเตอรี่ต้องรับภาระหนักอย่างมากในการจ่ายกระแสไฟฟ้า และ ต้องรับกระแสในการชาร์จไฟฟ้ากลับอย่างรวดเร็ว และ บ่อยครั้งกว่ามาก เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีของรถยนต์ยุคก่อน ที่แบตเตอรี่มีหน้าที่เพียงเพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ เพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องมีภาระในการจ่ายกระแสไฟฟ้าอื่น ๆภายในรถยนต์ ผู้ผลิตแบตเตอรี่จึงต้องมีการพัฒนาแบตเตอรี่ ให้มีคุณสมบัติในการรองรับการทำงาน ของทั้ง 2 ระบบนี้ โดยแบตเตอรี่จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. พัฒนาสูตรสารเคลือบแผ่นธาตุแบบใหม่ (Active Material ) ด้วยการเติมสาร Carbon ในส่วนผสมของสารเคลือบแผ่นธาตุ ทำให้ได้แบตเตอรี่มีคุณสมบัติในการชาร์จไฟฟ้ากลับได้เร็ว และมีรอบการใช้งานสูงขึ้น เรียกว่า EFB Battery (Enhance Flood Battery )
2. พัฒนาแผ่นกั้น (Separator ) โดยเปลี่ยนแผ่นกั้นจาก PE Separator ไปเป็นแบบ ใยแก้ว (Glass Mat) ทำให้ได้แบตเตอรี่ที่เรียกว่า AGM Battery (Absorbent Glass Mat Battery) ซึ่งแบตเตอรี่ ชนิด AGM นั้น ตัวแผ่นกั้น จะเป็นใยแก้ว ชนิดพิเศษ ที่มีคุณสมบัติในการดูซึมน้ำกรดไว้ในตัวเอง ทำให้แบตเตอรี่ AGM จะมีลักษณะแห้งสนิท ป้องกัน การรั่วไหลน้ำกรดออกจากแบตเตอรี่ได้ 100% (Spill-off proved) พร้อมปรับปรุงสารเคลือบให้มีคุณสมบัติชาร์จไฟฟ้ากลับได้เร็ว และ มีรอบการใช้งานสูงมากกว่า แบตเตอรี่ EFB มากกว่า 2 เท่า อีกด้วย
ซึ่งถ้ารถยนต์รุ่นเก่าที่ซื้อก่อนปี ค.ศ. 2000 รถยนต์จะยังไม่มีระบบ ไดชาร์จอัฉริยะและระบบ ISS จะเป็นแบตเตอรี่ตะกั่วกรด จะมีวิวัฒนาการอยู่ 4 ยุคด้วยกัน คือ Conventional > Low Maintenance > Hybrid > SMF
แบตเตอรี่สำหรับ รถไฟฟ้า BYD ATTO 3 PUMA 53587 เป็นแบตเตอรี่ที่มีตัวล็อคฐานล่าง
เซนเซอร์ขั้วลบแบตเตอรี่รถยนต์ หรือ IBS (Intelligent Battery Sensor) จะทำหน้าที่ควบคุมการชาร์จกระแสไฟเข้าแบตเตอรี่
แบตเตอรี่แต่ละประเภทจะมีวิธีการเช็คแบตเตอรี่ ที่ต่างกัน หากเป็นแบตเตอรี่น้ำ ดูตรงระดับหน้ำกลั่น ตรงขีด Lower หรือ Upper แต่หากเป็นแบตเตอรี่ประเภท SMF หรือ MF จะสามารถดูได้จากตาแมวแบตเตอรี่