แบตเตอรี่รถยนต์ทำหน้าที่อะไร
ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานหลักในกรณีที่เครื่องยนต์ไม่ได้ทำงาน เป็นแหล่งจ่ายพลังงานสำรองในกรณีที่เครื่องยนต์ทำงานแล้ว
วันนี้เราจะมาพูดถึงประเภทและชนิดของแบตเตอรี่ในยุคปัจจุบันในปี 2021 ว่ามีแบตเตอรี่รถยนต์ ที่เป็นตะกั่วกรดว่ามีแบบไหนบ้าง
ตัวแรกแบตเตอรี่สีเขียว คือแบตเตอรี่น้ำ แบตเตอรี่น้ำมีมานานแล้วมากกว่า 50 ปี ข้อดีของแบตเตอรี่น้ำคือ
1.หาซื้อง่าย
2.ราคาไม่แพง
แต่ว่าต้องดูแลเป็นพิเศษ ต้องคอยหมั่นดูน้ำกลั่น แต่ข้อที่เกิดผลลบกับรถยนต์ในแบตเตอรี่น้ำก็คือ เวลาที่เติมน้ำกลั่นเกินน้ำจะหกกัดสีรถ ทำให้ตัวถังรถเป็นสนิม อันนี้คือแบตเตอรี่น้ำทั้งข้อดีและข้อเสีย
ตัวต่อมาครับแบตเตอรี่ที่คนไทยมักจะเรียกว่า แบตกึ่ง บางคนเรียกว่าแบตกึ่งแห้ง บางคนเรียกว่าแบตกึ่งน้ำ จิงๆแล้วมันคือแบตเตอรี่ชนิด Low Maintenance หรือในบ้านเราบางแบรนด์จะลงว่า Maintenance free ก็จะมีสติกเกอร์แปะฝาไว้ ถ้าลอกสติกเกอร์ตรงนี้ออกจะเห็นฝา ถ้าจะเปิดฝากก็ให้เอาเหรียญไข แบตเตอรี่ชนิดนี้ยังต้องการการดูแลอยู่ แต่ก็น้อยกว่าแบตเตอรี่น้ำ เพราะฉะนั้นราคาก็จะสูงกว่าแบตฯน้ำขึ้นมา คนไทยจะเรียกแบตชนิดนี้ว่า แบตกึ่งแห้ง ตัวนี้นะครับสีแดง ชื่อว่า อินเด็กซ์แบตเตอรี่
ต่อมาวิวัฒนาการของแบตเตอรี่ก้าวไปไกลขึ้น ก็พัฒนาแบตเตอรี่มาเป็นชนิด SMF หรือชื่อเต็มๆ คือ Sealed Maintenance Free คนไทยติดปากเรียกคือ แบตแห้ง แต่ถามว่าจิงๆแล้วข้างในแห้งมั้ยครับ ข้างในไม่แห้ง ข้างในจะมีน้ำกรดอยู่ แต่ว่ามันปิดสนิท มันไม่ต้องการการเติมน้ำกลั่น คนไทยจึงเรียกติดปากว่ามันคือ แบตแห้ง ตัวนี้พูม่า Black & Gold
ทีนี้ SMF จะมีแยกออกไปอีก 2 ชนิด เพิ่มขึ้นมาก็คือ ชนิดนี้ครับ EFB Battery เป็นแบตเตอรี่ที่ข้างในมีน้ำกรดเหมือนกันแต่ปิดสนิท คนไทยก็คุ้นว่าแบตแห้งเหมือนกัน EFB Battery จะเหมาะกับรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่มีระบบ Start Stop และระบบ Alternator Management System คือระบบที่ต้องจ่ายไฟให้กับรถมากกว่ารถปกติ เพราะว่าในรถรุ่นใหม่นั้นไดชาร์จไม่ได้ปั่นตลอดเวลา
มาถึงสุดท้ายครับเป็นแบตเตอรี่ชนิด AGM ชื่อเต็ม ๆ คือ Absorbent Glass Mat Battery แปลเป็นไทยคือชนิดใยแก้ว เป็นใยแก้วที่ทำหน้าที่ดูดซับน้ำกรดไว้ แต่คนก็จะคุ้นว่ามันคือแบตเจล แบตชนิดนี้ดีไซน์มาสำหรับรถที่มีระบบ AMS และก็ Start Stop เหมือนกันแต่ปัจจุบันจะมีแค่แบตที่เป็นขั้วจมเท่านั้น
แบตเตอรี่สีเขียวแบรนด์ mf power แบตเตอรี่ตัวนี้เป็นแบตน้ำ แกะกล่องมาก็จะเจอฟรอย ร้านค้าก็จะแกะฟรอยเติมน้ำกรดลงไปให้ น้ำกรดที่ร้านค้าเติมลงไปก็จะอยู่ระหว่างขีดล่างกับขีดบน พอใช้งานไปเรื่อยๆแบตเตอรี่จะมีการสูญเสียน้ำ จึงต้องการการเติมน้ำกลั่นลงไป
แต่การเติมน้ำกลั่นไม่ควรเติมเกินขีด upper แล้วรู้ได้ไงว่าต้องการการเติมน้ำกลั่น ถ้าระดับน้ำอยู่ขีดล่างเราก็ทำการเติมน้ำกลั่นลงไป อันนี้คือแบตน้ำข้อที่ต้องดูแลมันหลักๆถ้าเติมเกินขีด upper จะเกิดอะไรขึ้น ก็คือเวลาใช้งานไปน้ำในแบตเตอรี่ที่เป็นน้ำกรดก็จะหก ล้นมากัดสีรถ กัดตัวถังรถ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายกับรถยนต์ได้
ถ้าจะดูเป็นเเวลาหรือระยะว่าเท่าไหร่ควรจะเติมดี ในแบตน้ำถ้าซื้อใหม่ๆ ประมาณ 3-4 เดือน เช็คสักครั้งนึง หรือประมาณ 10,000 – 15,000 กิโลเมตร แต่ถ้าใช้งานไปแล้วมากกว่า 6 – 8 เดือน ระยะเวลาในการดูต้องสั้นลงจาก 3-4 เดือน อาจจะเป็น 1 เดือนครั้ง หรือ 2 เดือนครั้ง หรืออาจจะเปิดดูทุกๆ 5,000 กิโลเมตร เพราะว่าแบตเตอรี่น้ำเวลาใช้งานไปเรื่อยๆ พอแผ่นธาตุเริ่มมีความเสียหายการกินน้ำจะเยอะขึ้น อันนี้คือแบตเตอรี่น้ำ ไม่ว่าจะยี่ห้อไหนใช้วิธีการดูแลแบบนี้เลย
สำหรับแบตเตอรี่ INDEX แบตเตอรี่สายพันธุ์แกร่ง คุณภาพสูง มาดูว่ามันคือแบตชนิดไหน มันคือแบต MF หรือ Maintenance free คนไทยจะเรียกติดปากว่าแบตเตอรี่กึ่งแห้ง แบตเตอรี่ชนิดนี้ดูแลน้ำกลั่นน้อยมากๆ ถ้าเทียบเป็นระยะเวลาก็ 3-4 เดือน ดูตาแมวสักครั้งนึง ถ้าตาแมวยังไม่ใช่เป็นสีแดง ก็ยังไม่ต้องไปยุ่งกับมัน แต่ถ้าดูเป็นเลขกิโลเมตรก็ 25,000 – 30,000 กิโลเมตร เปิดดูสักครั้งนึง
วิธีการเปิดดูข้างบนจะเป็นสติกเกอร์เราสามารถลอกได้ พอลอกเสร็จปุ๊บจะมีฝาเรียบอยู่บนนี้ ให้เอาเหรียญสิบหรือเหรียญห้าบาทไข เพื่อเปิดดูหรือเปิดเช็คระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ เสร็จแล้วเราก็ปิดและแปะสติกเกอร์คืนลงไปได้ อย่าลืมนะครับถ้าตาแมวยังไม่เปลี่ยนสถานะเป็นสีแดงไม่ต้องไปยุ่งกับมัน สำหรับแบตเตอรี่ชนิด MF ย้ำอีกทีมันคือแบตเตอรี่กึ่งแห้ง ยังต้องการการเติมน้ำกลั่นอยู่
และนี่คือแบตเตอรี่พูม่า แบตเตอรี่ SMF กำเนิดขุมพลัง เต็มประสิทธิภาพ แบตเตอรี่ชนิดนี้เป็นแบตเตอรี่ SMF ชื่อเต็มๆ คือ Sealed Maintenance Free คนไทยติดปากเรียกคือ แบตแห้ง จิงๆแล้วไม่ได้แห้งข้างในมีน้ำกรดอยู่ แต่ที่คนไทยติดปากเรียกเพราะว่ามันไม่สามารถเปิดเติมน้ำกลั่นได้ แบตเตอรี่ชนิดนี้คุณใช้งานไปเลย ใช้จนพังน้ำก็ไม่แห้ง เพียงแต่ขอให้ใช้ให้ถูกต้อง ไม่ถูก overcharge ไม่ถูกไดชาร์จ overcharg
ไม่ถูกเครื่องชาร์จ overcharge ใช้จนพังน้ำกลั่นก็ไม่แห้ง โดยเราจะดูได้จากสถานะตาแมวด้านบน ทีนี้ยุคสมัยเปลี่ยนไป รถยนต์เปลี่ยนไป สเปคเปลี่ยนไป รถยนต์รุ่นใหม่ๆไดชาร์จไม่ได้ทำงานตลอดเวลาแล้ว รถรุ่นใหม่ๆ มีการดับเครื่องยนต์
มีการสตาร์ทเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติเวลารถจอดติดไฟแดง เพราะฉนั้นพูม่าเราจึงมีน้องใหม่เป็น EFB BATTERY และ AGM BATTERY เรามาดูกันว่า 2 ตัวที่กำเนิดขึ้นใหม่นั้นมีดีอย่างไรไปดูกัน
แบตเตอรี่น้องใหม่ พูม่า EFB และ AGM พลังแห่งอนาคตสู่รถคุณ มาดูกัน EFB คืออะไร EFB เป็นแบตเตอรี่อยู่ในกลุ่ม SMF เช่นเดียวกัน ปิดสนิทไม่มีฝาเปิดเติมน้ำ แต่เป็นแบตเตอรี่ที่เกิดมาเพื่อใช้กับรถที่มีระบบ Start Stop และระบบ Alternator Management System หรือไดชาร์จอัจฉริยะ EFB ย่อมาจาก Enhance Flood Battery
แบตชนิดนี้ถามว่าแตกต่างจากแบตพูม่า Gold และ Black Series อย่างไร แบตเตอรี่ชนิดนี้ออกแบบแผ่นธาตุข้างในให้แข็งแรงเพื่อที่รองรับการทำงานในรถที่ต้องสตาร์ทเครื่องบ่อย ในรถที่ไดชาร์จไม่ได้ชาร์จตลอดเวลา นี่คือ EFB
ถัดมาเป็นแบตเตอรี่ AGM ชื่อเต็มๆคือ Absorbent Glass Mat Battery เป็นแบตเตอรี่ SMF เหมือนกัน แต่เป็นแบตเตอรี่ที่คนไทยจะติดปากว่าคือแบตเตอรี่เจล แต่จิงๆ แล้วเป็นใยแก้วที่ดูดซับน้ำกรดไว้ข้างใน แบตชนิดนี้ข้อดีคือ น้ำกรดไม่ได้อยู่ในสถานะของเหลว สามารถวางนอนได้ 180องศา โดยที่ไม่มีน้ำหกออกมา และด้วยขั้ว ที่เป็นขั้วจมเพราะฉนั้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับรถยุโรป ที่ใช้แบตเตอรี่ขั้วจมมาอยู่แล้ว
ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานหลักในกรณีที่เครื่องยนต์ไม่ได้ทำงาน เป็นแหล่งจ่ายพลังงานสำรองในกรณีที่เครื่องยนต์ทำงานแล้ว
เมื่อรถยนต์เกิดสตาร์ทไม่ติด ก็ต้องทำการพ่วงแบตเตอรี่กับรถคันอื่น และหลายคนที่พบปัญหาก็คือแล้วสายสีดำ กับสีแดง จะพ่วงกับขั้วแบตตรงไหนดี วันนี้เรามีมาบอกกันครับ
รถยนต์ที่มีระบบ ISS System (Start Stop System) พร้อมทั้งรถยนต์ที่ติดตั้งระบบไดชาร์จอัจฉริยะ (AMS System)