แนะนำการใช้คลิปแอมป์ UNI-T UT203
คลิปแอมป์ หรือ เรียกอีกอย่างว่า มัลติมิเตอร์ (Multimeter)
การใช้ฟังก์ชันต่างๆ ของคลิปแอมป์
- ฟังก์ชันโวลต์มิเตอร์ สามารถวัดได้ 2 โหมดคือ
- DC เป็นเป็นวัดไฟตรงหรือวัดไฟแบตเตอรี่รถยนต์
- วิธีวัดโวลต์ไฟ DC
- นำสายวัดสีแดงเสียบช่อง V และสายสีดำเสียบช่อง COM
- นำปลายสายสีแดง แตะที่ขั้วบวก สายสีดำแตะที่ขั้วลบแบตเตอรี่ เราก็จะได้โวลต์ไฟตรงจากแบตเตอรี่
- กรณีแตะสลับขั้ว ค่าที่ได้จะเท่าเดิมแต่จะมีตัวอักษรลบ (-) แสดงขึ้นมาที่หน้าจอ นั่นหมายความว่าเราแตะขั้วสลับกัน
- AC เป็นโหมดวัดไฟสลับ
- ฟังก์ชันวัดโอมป์ วิธีวัดเราจะใช้สายแตะไปที่ตัวต้านทาน ค่าเท่าไหร่เครื่องจะขึ้นค่ามาที่หน้าจอ
- ฟังก์ชันวัดไดโอดและเช็ควงจรขาดหรือไม่
- เช่นวัดวงจรว่าขาดหรือไม่ ให้เอาปลายสายแตะฟิวด์ทั้ง 2 ด้าน ถ้าเครื่องมีเสียงดังขึ้นมาแสดงว่าฟิวด์ไม่ขาด แต่ถ้าแตะไปแล้วไม่มีเสียงแสดงว่าฟิวด์ขาด
- ฟังก์ชันวัดความถี่ ในงานรถยนต์หรือจะบบไฟรถยนต์ แทบจะไม่ได้ใช้
- ฟังก์ชันวัดกระแส (Amp) ซึ่งฟังก์ชันนี้ไม่ต้องใช้สายวัด แต่จะใช้วิธีการคล้องที่สายไฟ ในงานรถยนต์ฟังก์ชันนี้จะใช้ในการวัดกระแสไฟในรถยนต์ว่ามีการรั่วหรือไม่และดูทิศทางการไหลของกระแสไฟ ซึ่งประกอบด้วย 2 เมนู ได้แก่
- 40A จะวัดได้ทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ ก็คือวัดได้ทั้งไฟ DC และ AC วัดได้ไม่เกิน 40แอมป์
- 400A จะวัดได้ทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ ก็คือวัดได้ทั้งไฟ DC และ AC วัดได้ไม่เกิน 400แอมป์
วงจรไฟฟ้าในรถยนต์เบื้องต้น ประกอบด้วย
- แบตเตอรี่
- Load ซึ่งประกอบไปด้วย มอเตอร์พัดลมแอร์, ไฟหน้า, หลอดไฟ
การไหลของกระแสไฟ จะไหลจากขั้วบวกของแบตเตอรี่ เข้า load และไหลกลับไปที่ขั้วลบของแบตเตอรี่
การคล้องคลิปแอมป์ มี 2 แบบ
- ด้านหน้าเครื่องที่มีเครื่องหมาย (+) นำคลิปแอมป์คล้องให้กระแสไหลเข้าด้านบวกผลที่หน้าจอจะไม่มีเครื่องหมายลบ
- ด้านหลังเครื่องที่มีเครื่องหมาย (-) นำคลิปแอมป์คล้องให้กระแสไหลเข้าด้านลบผลที่หน้าจอจะมีเครื่องหมายลบ โดยปกติเราจะคล้องให้แสดงเครื่องหมายลบเกิดขึ้นถ้าแบตเตอรี่ถูกดึงไฟไปใช้
บทความแนะนำ
ขี้เกลือที่ขั้วแบตเตอรี่ เกิดจากความต้านทานไฟฟ้า ในจุดที่เกิดขี้เกลือ บางครั้งเกิดจากปัญหาสายไฟเสื่อมสภาพ หรือการขันขั้วแบตเตอรี่หลวม
แบตเตอรี่รถยนต์ในยุคปัจจุบันในปี 2021 ที่เป็นตะกั่วกรดมีแบบไหนบ้าง แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร และมีวิธีการดูแลรักษาอย่างไรให้ใช้งานได้ยาวนาน
แบตเตอรี่ ตะกั่วกรด นั้นได้มีการเริ่มใช้งาน มาตั้งแต่เมื่อ ค.ศ 1859